
โรคแทบทุกโรคนั้นมักมีสัญญาณเตือน แต่สำหรับมะเร็งเต้านมในระยะแรกนั้นจะไม่มีสัญญาณเตือนให้ระวัง ผู้หญิงทุกคนนั้นจึงควรหมั่นไปตรวจเช็คมะเร็งเต้านมอยู่เสมอ หากพบความเสี่ยงจะได้ปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาได้อย่างรวดเร็วที่สุด และยิ่งเมื่ออายุมากขึ้นความเสี่ยงก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะบุคคลต่างๆ เหล่านี้ ได้แก่ คนที่ยังไม่มีบุตร หรือมีบุตรคนแรกหลังอายุ 35 ปี หรือคนในครอบครัวมีประวัติเคยเป็นมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ หรือคนที่มีรูปร่างอ้วน โดยเฉพาะผู้หญิงที่อยู่ในช่วงวัยหมดประจำเดือนและมีพฤติกรรมชอบดื่มแอลกอฮอล์ ทานอาหารไขมันสูง ไม่ชอบออกกำลังกาย มีประวัติการใช้ยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน ซึ่งการตรวจหามะเร็งเต้านมมีหลายวิธีดังนี้
วิธีการตรวจมะเร็งเต้านม สามารถตรวจได้หลายวิธี ได้แก่
- การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง (Breast Self-Examination – BSE)
- การตรวจมะเร็งเต้านมโดยแพทย์ (Clinical Breast Exam – CBE)
- การตรวจด้วยแมมโมแกรม (Mammogram)
- การตรวจอัลตร้าซาวด์ (Breast Ultrasound)
- การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging – MRI)
- การตรวจเจาะเนื้อเยื่อ (Biopsy)
การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยวิธี “ อัลตร้าซาวด์ ”กับวิธีการตรวจด้วย “ แมมโมแกรม ” แตกต่างกันอย่างไรบ้างการตรวจด้วยอัลตร้าซาวด์ จะเหมาะสำหรับผู้หญิงที่มีอายุยังไม่ถึง 40 จะสามารถวินิจฉัยก้อนในเต้านมได้ว่าเป็นถุงน้ำหรือก้อนเนื้อ เนื่องจากว่าช่วงวัยนี้จะมีความเสี่ยงการเกิดซีสต์ในเต้านมสูงกว่าการเกิดมะเร็งเต้านม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีโอกาสการเกิดมะเร็งเต้านม และการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรม จะเหมาะกับผู้หญิงทีมีอายุตั้งแต่ช่วงวัย 35-40 ปีขึ้นไป เป็นวิธีการตรวจวินิจฉัยที่ให้ผลที่แม่นยำและได้ภาพที่มีความละเอียดสูง สามารถตรวจพบหินปูนในเต้านมได้
ทั้งนี้การไปตรวจมะเร็งเต้านม ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญและเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกัน และลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้จากมะเร็งเต้านม ทำให้เราสามารถรับมือกับมะเร็งเต้านมได้ดีขึ้น การที่รู้สถานะของสุขภาพตนเองและตรวจพบโรคมะเร็งเจอตั้งแต่เนิ่นๆ ช่วยเพิ่มโอกาสที่จะรักษาโรคให้หายขาดได้สูงกว่าการที่ตรวจพบโรคในระยะที่มะเร็งลุกลามไปแล้วค่ะ